สนิมเกิดแต่เนื้อใน
“ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีตเลือกวัสดุซ่อมและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหา จาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว ใน Ep. 1 ได้นำเสนอปฐมบทแนห่งการเสื่อมสภาพของคอนกรีตไปแล้ว สำหรับ Ep. 2 สนิมเกิดแต่เนื้อใน จะเป็นเรื่องของกระบวนการทางเคมีที่ทำร้ายเหล็กเสริมและคอนกรีต, ประเภทของการเสื่อมสภาพของคอนกรีต และไกด์ไลน์ซ่อมอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาเพอร์เฟค!
สนิมเกิดแต่เนื้อใน?
เราจะเห็นคอนกรีตเริ่มเสื่อมสภาพก็ต่อเมื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงทางภายภาพ เช่น คอนกรีตเริ่มหลุดล่อน เกิดรอยแตกร้าว หรือ ปรากฏเป็นคราบสนิม แต่ขบวนการทำร้ายคอนกรีตได้ก่อตัวมาตั้งแต่ประตูแห่งความเสื่อมสภาพในคอนกรีต ที่เรียกว่า ปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น ได้เปิดขึ้น
กระบวนการที่ค่อยๆ แทรกซึม
ทำร้ายเหล็กเสริม – ทำลายคอนกรีต
กระบวนการคาร์บอเนชั่น เกิดขึ้นเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ ทำให้ค่า PH ในคอนกรีตลดลง จึงส่งผลต่อฟิล์มที่ปกป้องเหล็กเสริมถูกทำลาย เมื่อการกัดกร่อนในเหล็กเสริมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะทำให้หน้าตัดของเหล็กเสริมลดลงแล้ว ปริมาตรของสนิมที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดแรงดันภายใน ส่งผลทำให้เกิดการแตกร้าวและหลุดล่อน นอกจากนี้สารปนเปื้อนที่มีอยู่ในซีเมนต์เพสต์ อาจเป็นสาเหตุของการอ่อนตัวลงทำให้เกิดการขยายตัวของรอยร้าวและการหลุดล่อนของซีเมนต์เมทริกซ์ กระบวนการทางเคมีเหล่านี้จะส่งผลให้กำลังในโครงสร้างของคอนกรีตลดลง
การเสื่อมสภาพของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งได้กว้างๆ ดังนี้
- การกัดกร่อนของเหล็กเสริมที่เป็นผลมาจากปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น หรือ การสัมผัสกับคลอไรด์
- การสัมผัสกับสารเคมี หรือ สารปนเปื้อนที่มีอยู่ในซีเมนต์เพสต์ เช่น ซัลเฟต, น้ำที่มีกรดเจือจาง
- แรงกระแทก, การเสียดสีหรือการครูด การเสื่อมสภาพทางกายภาพ (จากการจราจร)
- การรับน้ำหนักเกินพิกัด
- การเคลื่อนตัว, การทรุดตัวของคอนกรีต
- การเกิดสะภาพการแข็งตัวและละลายของน้ำในคอนกรีตสลับกันไป (freeze-thaw)
- การก่อสร้างที่ผิดวิธี ส่งผลให้เกิดการแตกร้าว
- เกิดเป็นโพรงแบบรังผึ้ง, ระยะที่คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมน้อยเกินไป, รูพรุนในคอนกรีต
วินิจฉัยถูกปัญหา เลือกยาถูกอาการ
ผลลัพธ์งานซ่อม ย่อมเพอร์เฟค
เพื่อให้การซ่อมแซมมีประสิทธิภาพแก้ปัญหาถูกจุด ลำดับแรกต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเสื่อมสภาพของคอนกรีตเสียก่อน หากไม่ได้เริ่มจากขั้นตอนนี้โครงสร้างที่ได้รับการซ่อมแซมอาจเกิดข้อบกพร่องเสียหายก่อนเวลาอันควร ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมคอนกรีตก้าวหน้าไปอย่างมาก การแก้ไข ปรับปรุง และคืนสภาพคอนกรีตในระยะยาว อย่างเป็นระบบตามแนวทางปฏิบัติจะช่วยให้งานซ่อมแซมคอนกรีตได้ผลลัพธ์ที่ดี
- สำรวจ ตรวจสอบ เพื่อระบุสาเหตุการเสื่อมสภาพของคอนกรีต
- เลือกวัสดุซ่อมและกลยุทธ์การติดตั้งที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาตรงจุด
- เตรียมพื้นผิวอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของวัสดุซ่อม
- รองพื้นก็สำคัญ, ความชื้นของพื้นผิวคอนกรีตที่จะซ่อมยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
- เลือกใช้วัสดุประสานคอนกรีต (โพลิเมอร์ หรือ อีพ็อกซี่) ที่ถูกต้องเหมาะสมตามกลไกการทำงานของวัสดุซ่อม
- ให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการบ่มตัวของวัสดุ
- อย่าลืมขั้นตอนการปกป้องคอนกรีตจากคาร์บอเนชั่น เพื่อยืดอายุของโครงสร้างที่ซ่อมแซมให้ยาวนานขึ้น
คอนเทนต์หน้าพบกับการพิจารณาเลือกวัสดุซ่อมที่สอดคล้องกับมาตรฐาน EN 1504
“ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง คอนเทนต์ซีรีย์ ชุดใหม่ที่รวบรวมแนวคิด วิธีการซ่อม การเลือกใช้วัสดุ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมคอนกรีต เพื่อความเป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในงานซ่อมจาก Comix Repair Manual E-BOOK ที่ตกผลึกองค์ความรู้อย่าง Expert ได้สมบูรณ์แบบ”
อ่านบทความอื่น : | ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep2 |ตีแตกปัญหารอยร้าว Ep1 | การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริม โครงสร้างชายฝั่งทะเล | ซ่อมแซมโครงสร้างทั้งที ต้องให้ดีกว่าสร้างใหม่ | ถูกฝา ถูกตัว Ep 1 | ถูกฝา ถูกตัว Ep2 | ถูกฝา ถูกตัว Ep3 | ถูกฝา ถูกตัว Ep4 | ถูกฝา ถูกตัว Ep5 | ถูกฝา ถูกตัว Ep6 | ถูกฝา ถูกตัว Ep7 | ถูกฝา ถูกตัว Ep8 | เลือกวัสดุดีมีชัยไปกว่าครึ่ง | เลือกวัสดุผิด..ชีวิตเปลี่ยน | ยืนหนึ่ง ซีเมนต์กันซึมตกผลึก (คริสตัลไลน์ ) | 11 จุดเด่นของระบบกันซึม คริสตัลไลน์ | บทความน่าสนใจ |