การซ่อมแซมและปกป้องเหล็กเสริมที่เสียหาย ในโครงสร้างทางชายฝั่งทะเลให้ปลอดสนิม

Pic-problem corrosion at structure_N

โครงสร้างชายฝั่งทะเล เป็นโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำทะเลหรือไอทะเลตลอดเวลา ดังนั้นโครงสร้างชายฝั่งทะเลจึงมักจะประสบปัญหาการกัดกร่อนในคอนกรีต รวมถึงสิ่งก่อสร้างในระยะทาง 3 กม.จากชายฝั่งทะเลก็อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับไอทะเลที่มากับลม ลมจะพัดพาคลอไรด์มาสัมผัสกับโครงสร้างคอนกรีต เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการกัดกร่อนในคอนกรีตด้วยเช่นกัน

คอนกรีตเมื่อเหล็กเสริมถูกกัดกร่อนจนเสียหาย จะปรากฎให้เห็นโครงสร้างคอนกรีตเกิดรอยแตกร้าวขึ้น, โครงสร้างเกิดการโก่งขยายเนื่องจากไม่สามารถรับแรงดึงได้ สาเหตุของการถูกกักกร่อนลึกจนถึงเหล็กเสริม เกิดจาก   คลอไรด์ เป็นตัวการทำให้เหล็กเสริมเสื่อมสภาพลง เมื่อต้องซ่อมแซมจึงต้องใข้วัสดุซ่อมที่ป้องกันสนิมในเหล็กเสริม โดยเลือกใช้  ไพร์มเมอร์ (Anti-Rust Primer) ทาเพื่อปกป้องเหล็กเสริม

Pic-Column-Rush_N

กรณีที่ตรวจสอบแล้วพบว่า เหล็กเสริมอยู่ในสภาพสมบูรณ์ การซ่อมแซมเพียงแค่ใช้วัสดุทาเคลือบเพื่อป้องกันไม่ให้ คลอไรด์สัมผัสกับเหล็กเสริมโดยตรง ซึ่งจะปกป้องไม่ให้เหล็กเสริมเป็นสนิม โดยใช้ คอนการ์ด ซิงค์ (Congard Zinc)  จะทำหน้าที่สร้างชั้นฟิล์มเคลือบเหล็กเสริม โดยทำความสะอาดเหล็กเสริมและทา คอนการ์ด ซิงค์ ที่เหล็กเสริมโดยตรงและทิ้งไว้อย่างน้อย  1-2 ชม. กรณีที่เหล็กเสริมถูกทำลาย ต้องตัดเหล็กเสริมส่วนที่เสียหายออกแล้วทาบต่อด้วยเหล็กใหม่ จากนั้นทำความสะอาดและทา คอนการ์ด ซิงค์ เพื่อปกป้องเหล็กเสริม

ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกใช้วัสดุเชื่อมประสาน (Bonding Agent) การเลือกใช้วัสดุเชื่อมประสานจะมีผลต่อประสิทธิภาพที่ดีเพื่อไม่ให้วัสดุซ่อมหลุดล่อน  ซึ่งมีให้เลือกใช้ทั้งโพลีเมอร์และอีพ็อกซี่ ฉบับนี้คอร์มิกซ์ขอแนะนำ คอร์มิกซ์ ลาเท็กซ์ (Cormix Latex) ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ เปิดฝาแล้วใช้ได้ทันที ไม่ต้องผสมน้ำให้ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวลสัดส่วนการผสม คราวนี้ก็มาถึงพระเอกตัวจริงในการซ่อมเพื่อป้องกันการกัดกร่อนในคอนกรีต โดยการฉาบและแต่งผิวคอนกรีตด้วย คอนแพทช์ 600 เอ็มซีไอ (Conpatch 600 MCI) มอร์ตาร์สำหรับซ่อมโครงสร้าง สูตรผสมสารยับยั้งการกัดกร่อนในคอนกรีต

เพียงเท่านี้โครงสร้างคอนกรีตก็จะได้รับการฟื้นฟูและปกป้องแบบ Dual Protection ตั้งแต่เหล็กเสริมจนถึงโครงสร้างคอนกรีต

Share