“ 8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต” (1)

คอนเทนต์ซีรีย์ “ถูกฝา ถูกตัว” เจาะลึกกลยุทธ์ ซ่อมแซมคอนกรีต เลือกวัสดุและโซลูชั่นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เป็นการร้อยเรียงเนื้อหา จาก คู่มือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต (Cormix: Concrete Repair Manual) เพื่อนำเสนอวิธีการซ่อมแซม, การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับข้อบกพร่องหรือพฤติกรรมคอนกรีต รวมถึงสอคล้องกับมาตรฐานสากล (EN Standard) และเป็นการซ่อมแซมอย่างถาวร ให้ความคุ้มค่าในระยะยาว ใน Ep. 4 ได้นำท่าน เข้าสู่ขั้นตอนการซ่อมแซมคอนกรีต โดยได้ย้ำเตือนถึงหัวใจสำคัญของพื้นฐานการซ่อมคือ  การเตรียมพื้นผิวเพราะเป็นขั้นตอนที่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งที่จริงแล้วการเตรียมพื้นผิวคือกุญแจดอกแรกที่จะส่งผลให้งานซ่อมออกมาสมบูรณ์แบบ สำหรับ Ep. 5 นี จะพาท่านไปทบทวน 8 กระบวนยุทธพื้นฐาน สำหรับงานซ่อมแซมคอนกรีต

Trowel applied

8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต

กระบวนท่าที่ 1 การฉาบด้วยมือโดยใช้เกรียง (Trowel applied)

เป็นการฉาบวัสดุซ่อมด้วยมือ โดยการตักวัสดุซ่อมแซมที่ผสมแล้วลงบนกะบะปูนสำหรับงานฉาบ จากนั้นใช้เกรียงฉาบลงบนพื้นผิวที่ต้องการ  (วัสดุซ่อมที่ดีต้องไม่ไหลย้อย) การฉาบเพื่อการซ่อมแซมจะต้องใช้เกรียงกดปูนซ่อมลงบนพื้นผิวเพื่อให้ปูนซ่อมติดแน่นโดยไม่มีช่องว่าง

เคล็ดลับกระบวนท่า-ฉาบด้วยมือ: การฟื้นฟูพื้นผิวคอนกรีตเมื่อไม่พบเหล็กเสริม วัสดุที่ต้องการคือ ต้องเป็นวัสดุเนื้องละเอียด ช่วยในการตกแต่งขั้นสุดท้ายได้ง่าย ไม่ไหลย้อย เพื่อที่วัสดุที่ใช้งานสามารถอยู่ในตำแหน่งที่เป็นแนวตั้งหรือการใช้งานเหนือศีรษะได้

วัสดุคู่กาย งานฉาบซ่อม:

Conpatch 600MCI:

คอนแพทช์ 600เอ็มซีไอ ซีเมนต์มอร์ตาร์ ฉาบซ่อมน้ำหนักเบา ผสมสารยับยั้งสนิม  เหล็กเสริม

(EN 1504-3 class R4 High performance fibre reinforced repair mortar containing a migrating corrosion inhibitor)

Conpatch 675:

คอนแพทช์ 675 ซีเมนต์มอร์ต้า น้ำหนักเบาและให้ความคงตัวสูง สำหรับงานฉาบซ่อมในแนวเหนือศีรษะ

(EN 1504-3 class R3 High performance light weight over head & vertical repair mortar with high build properties)

Elastoclad:

อีลาสโตแคลด วัสดุเคลือบผิวเพื่อปกป้องคอนกรีต ผสมสารยั้บยั้งกระบวนการคาร์บอเนชั่น  (Anti Carbonation) ที่เป็นสาเหตุให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ

(EN 1504-2 EN 1504 PART 9 – Principles & Methods Related to defect in concrete, Principle 1Protection against ingress (PI), Principle 2 Moisture control (MC))

กระบวนท่าที่ 2 การซ่อมแบบ ดราย แพ็คกิ้ง หรือ การซ่อมแบบแห้ง (Dry Packing)

เป็นการซ่อมแซมด้วยวัสดุซ่อม ด้วยปูนมอร์ตาร์ ที่มีค่าการยุบตัว (Slump) เป็นศูนย์หรือค่าที่ใกล้เคียง วัสดุสำหรับซ่อมแซมจะต้องผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถเกาะตัวกันในขณะที่คอนกรีตยังอยู่ในสถานะพลาสติก (คอนกรีตในสถานะพลาสติก คือ คอนกรีตหลังจากเสร็จสิ้นการเทจนถึงช่วงเวลาที่คอนกรีตก่อตัวขั้นสุดท้าย) โดยนำวัสดุที่ผสมแล้วปั้นเป็นก้อนกลม แล้วนำมาอัดให้แน่นในบริเวณที่ต้องการซ่อม โดยการใช้แท่งเหล็กสำหรับอัด

เคล็ดลับกระบวนท่า-แบบดราย แพ็คกิ้ง: ปูนมอร์ตาร์ที่เลือกใช้ต้องสามารถปั้นเป็นลูกบอลได้โดยไม่มีน้ำเยิ้ม ไม่หย่อยคล้อย แรงอัดโดยการใช้แท่งเหล็กจะทำให้วัสดุซ่อมยึดเหนี่ยวกับพื้นผิวบริเวณที่ซ่อมได้อย่างแน่นสนิท

วัสดุคู่กาย งานซ่อมแบบแห้ง:

Conpatch MC:

คอนแพทช์ เอ็มซี วัสดุซ่อมที่ให้ค่ากำลังอัด ไหลตัวได้ดี ชดเชยค่าหดตัววัสดุเมื่อแห้งแล้วจึงไม่เกิดปัญหาแตกร้าวจากการหดตัวของวัสดุ

(EN 1504 Part 9 – Principles & Methods related to defect in concrete)

Condur EM:

คอนดัวร์ อีเอ็ม เป็นวัสดุซ่อมประเภท อีพ็อกซี่ มอร์ตาร์ ปราศจากตัวทำละลาย (Solvent Free) ให้ค่ากำลังอัดสูง ยึดเกาะดี ไม่หดตัว (การหดตัวมีค่าเป็นศูนย์)

เหมาะสำหรับการซ่อมแบบ ดราย แพ็ค (dry pack) หรือการซ่อมพื้นผิวในแนวราบ (horizontal surfaces)

(EN 1504-9 principle 6 Method 6.3 Heavy duty epoxy repair mortar for large voids)

8 กระบวนท่าพื้นฐาน งานซ่อมแซมคอนกรีต ในครั้งหน้าจะพาท่านไปทบทวนกระบวนยุทธงานซ่อมแซมคอนกรีตแบบ Dry-mix shotcreteและ Wet-mix shotcrete กับครับ

คอร์มิกซ์ ยินดีให้คำปรึกษางานซ่อมแซมคอนกรีตด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณสบายใจทั้งผู้รับเหมาและเจ้าของโครงการ


Share