ในการก่อสร้างอุโมงค์จำเป็นต้องมีการก่อสร้างปล่อง (Shaft) เพื่อใช้ในการลำเลียงหัวเจาะ (TBM) ไปประกอบในระดับที่จะเริ่มทำการขุดเจาะ ลำเลียงเครื่องจักร วัสดุในการก่อสร้าง คน ระบบระบายอากาศ ระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นในระหว่างการก่อสร้างและรื้อถอนหัวเจาะเมื่อดำเนินการเจาะแล้วเสร็จ จากนั้นจึงทำการถมคืนปรับสภาพหรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างถาวรต่อไป

Construction Shaft

วิธีการในการก่อสร้างปล่องมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความลึก สภาพชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดิน งบประมาณและแผนงานก่อสร้าง โดยวิธีที่นิยมใช้โดยทั่วไปได้แก่ วิธีกำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรมวอลล์ (Diaphragm Wall) และวิธีการจมบ่อ (Caisson sink) ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถก่อสร้างได้ในระดับลึกและมีความสามารถในการป้องกันน้ำได้สูงกว่าวิธีอื่นๆ

วิธีกำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรมวอลล์ (Diaphragm Wall) ใช้ในการก่อสร้างปล่องอุโมงค์แบบหน้าตัดเหลี่ยม (4,6,8,12,etc.) โดยการขุดหล่อคอนกรีตในที่ตามความลึกของปล่องที่ทำการออกแบบ จากนั้นจึงทำการขุดดินด้านในทั้งแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up construction) และแบบบนลงล่าง (Top-down construction) ตามลำดับ

Construction Shaft

เมื่อเกิดผลกระทบจากน้ำใต้ดินในการก่อสร้างปล่อง ต้องทำการหยุดการรั่วซึมเพื่อไม่ให้กระทบกับกระบวนการทำงานและโครงสร้างปล่อง การหยุดน้ำใต้ดินสามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. วิธีแก้ปัญหาชั่วคราวสำหรับการหยุดการซึมของน้ำเข้าสู่ปล่องชาร์ป (Shaft)
  2. วิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรสำหรับการหยุดน้ำปริมาณน้อยถึงปานกลาง/แรงดันน้ำเข้าสู่ปล่องชาร์ป (Shaft)
  3. วิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรสำหรับการหยุดน้ำปริมาณมาก/แรงดันที่ไหลเข้าสู่ปล่องชาร์ป (Shaft)
D-Wall Basement


TECHNOLOGY UPDATE


Share